สกธ.จัดเสวนาการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (RIA)

[vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text][/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text][/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text][/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]เมื่อวันที่ 30-31 ม.ค. 2560 นายวัลลภ นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม(สกธ.) ประธานกล่าวเปิด “การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) และแนวทางการกำหนดนโยบายและแผนในบริบทของประเทศไทย” ณ โรงแรมเบสต์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ โฮเต็ล
โดยกิจกรรมวันนี้ได้รับเกียรติจาก Madam Roziana Othman Senior Manager Malaysia Productivity Corperation เป็นวิทยากร บรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์
โดยมี นายอัสนีย์ สังขเนตร นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษเป็นผู้ดำเนินการ
ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายของประเทศมาเลเซีย ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. Good Regulatory Practice (GRP) and Regulatory Impact Analysis (RIA) Implementation วิธีปฏิบัติที่ดีและการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย
2. Compliance with Regulatory Process Management Requirements to Improve Quality of Regulations กระบวนการในการส่งเสริมกฎระเบียบเพื่อพัฒนาข้อบังคับให้มีคุณภาพ
3. Challenges and Way Forward ความท้าทายและแนวทางในการดำเนินงาน

สำหรับขั้นตอนการจัดทำ RIA ของประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้
1. Identify the problem คือ การระบุปัญหา ว่ามีความจำเป็นอย่างไรที่ต้องออกกฎหมายหรือระเบียบนั้นๆ และพิจารณาว่าเหตุใดกฎหมาย ระเบียบ หรือกฎที่มีอยู่เดิมไม่สามารถใช้ได้
2. Explain the objectives คือ การอธิบายวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องมีการระบุอย่างชัดเจน
3. Identify range of alternative option คือ การพิจารณาทางเลือกว่าทางเลือกใดคือทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งอาจจะต้องนำข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์
4. Provide adequate impact analysis คือการวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงบุคคลใด และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ
5. Consultation and stakeholder Engagement คือการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
6. State conclusion and recommadetion คือ ข้อสรุปและความเห็นของรัฐ และการจัดทำความเห็นส
7. Strategy for implementation คือการพิจารณาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายซึ่งไม่ว่าการออกกฎหมายนั้น ๆจะมีผลกระทบมากหรือน้อย หน่วยงานก็ควรทำ RIA[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

115 Views