วันนี้ (15 ธ.ค.60) โครงการฝึกอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ 2 เดินหน้าต่อเนื่อง ด้วยเนื้อหาที่อัดแน่นจนถึงภาคค่ำ ดังนี้ เวลา 9:00-12:00 น. หัวข้อ “1206 : ป.ป.ท. Call center (การสร้าง ความร่วมมือในการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในภาครัฐของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน)” โดย วิทยากรจาก สำนักงาน ป.ป.ท. สาระสำคัญกล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของสำนักงาน ป.ป.ท. ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแบ่งเบาภารกิจของ สำนักงาน ป.ป.ช. โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ในการ ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลการกระทำการทุจริต และสรุปสำนวนเพื่อส่งฟ้อง รวมทั้งแต่ง ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย ทั้งนี้ รับผิดชอบในกรณีการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับต่ำกว่าอำนวยการลงมา การร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ มีด้วยกัน 3 ช่องทาง ได้แก่
1. ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนในพื้นที่เกิดเหตุ (สำนักงาน ปปท. เขต 1-9)
2. สายด่วน 1206
3. Website ป.ป.ท.
เวลา 13:00-14:30 น.
หัวข้อ “รู้จัก กพยจ บทบาทใหม่ของยุติธรรมจังหวัด” โดย นายวัลลภ นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม สาระสำคัญ ได้อธิบายถึงความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของ กพยจ ดังนี้
– กพยจ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการและ มียุติธรรมจังหวัดเป็นเลขานุการ สำหรับเชียงราย ถือเป็นจังหวัดนำร่องยุติธรรมเข้มแข็ง ระดับ Top 5
– วัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายยุติธรรมแต่ละ จังหวัดได้รับทราบสถานะและแก้ไขปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่ของตนเอง โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
– ปัญหาระดับชุมชน ส่วนใหญ่มาจากการไม่รู้กฎหมาย เช่น การขายฝาก การจำนอง การกู้หนี้นอกระบบ ทำให้ถูกเอาเปรียบจากนายทุน
– ภารกิจของ สกธ. ที่ สำคัญด้านหนึ่งคือการสร้างการรับรู้กฎหมาย ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดทำ Infograghic และกำลังผลักดัน Mobile Unit ลงสู่ระดับชุมชน ในเร็วๆนี้
– อำนาจหน้าที่ ของ กพยจ ได้แก่ การเสนอแผนงาน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและร่วมกันเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมาย และรายงานผลต่อ กพยช. ต่อไป
– เรือนจำ – ปัจจุบันผู้ต้องขัง ส่วนใหญ่มาจากคดียาเสพติด แต่ปัญหาข้อกังขาก็คือ ยังมีการขายยาเสพติดในเรือนจำ หรือการลักลอบใช้โทรศัพท์มือถืออีก ได้อย่างไร? ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ คือควบคุมผู้ต้องขังไม่ให้หลบหนี ให้อยู่ในกฎระเบียบ และไม่กระทำความผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ โดยการฟื้นฟูผู้ต้องขังทั้งร่างกายและจิตใจ
– สถานพินิจฯ – ปัญหา อดีตคือการกักขังเด็ก/เยาวชน ส่งผลให้เกิดความเครียด เกิดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง และการหลบหนี ปัจจุบันจึงปรับให้เป็น รูปแบบโรงเรียน เน้นการให้ความรู้ การส่งเสริมวิชาชีพ และแข่งกีฬาในวันหยุด
– คุมประพฤติ – เป็นส่วนงานที่ทำงานสอดประสานกับ 2 หน่วยงานข้างต้น กล่าวคือ มีบทบาทตั้งแต่การสืบเสาะและคัดกรองผู้กระทำผิดก่อนการพิพากษา ไปจนถึงคุมประพฤตินักโทษที่ได้รับการพักโทษ และกลุ่มงานที่ต้องทำงานบริการสังคมแทนการกักขังหรือการเสียค่าปรับ
– บังคับคดี – ทำหน้าที่หลักคือ การบังคับคดีแพ่ง โดยการนำทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อชดใช้หนี้ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็น สำนักงานวางทรัพย์ ในกรณีที่ชาวบ้านนำที่ดินไปขายฝาก แต่เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนแล้ว นายทุนไม่ยอมรับเงินคืน ทำให้ต้องถูกยึดที่ดิน กรมบังคับคดีจึงเข้ามามีบทบาทเป็นตัวกลางในการรับเงิน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาวบ้าน อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากอัยการจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่เป็นทนายความให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ มาให้ความรู้เพิ่มเติม ถึงภารกิจของอัยการที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบ เข่น หน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การจัดการมรดก การรับบุตรบุญธรรม และร่วมมือกับกองทุนหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ อีกด้วย
เวลา18:30-20:00 น. การอภิปราย เรื่อง “เราช่วยคุณได้: เครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรม” โดย ผู้แทนจาก 4 หน่วยงาน ที่มีภารกิจในการอำนวยความเป็นธรรมให้ประชาชน ในด้านต่างๆ ดังนี้
– สภาเกษตรกร – ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
– สชง. – จ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
– กองทุนหมู่บ้าน – ให้สินเชื่อในการประกอบอาชีพ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานล่างระดับหมู่บ้าน