วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ วันที่สอง ของการอบรม “โครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่น 5”
เวลา 09.30 – 12.00 น.
เป็นการบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ โดยวิทยากรจาก กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ สำนักงาน ป.ป.ท.
หัวข้อสาระสำคัญ มีดังนี้
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3
▪️ความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันมีการพูดถึงและมีการนำแผนฯไปใช้ในการดำเนินงานและมีการรายงานผลการปฎอิบัติงานตามแผนฯ
▪️งานด้านหนึ่งของทาง กพยจ.ได้ให้ความสนใจและปฎิบัติตามแผนฯ เป็นการขับเคลื่อนเพื่อให้ไปสู่ระดับชุมชน โดยให้ ศยช. ช่วยกันส่งเสริมสิทธิด้านนี้ จำเป็นต้องมีการให้ทั้ง 5 ภาค มีเข้ารับฟังแผน/ความต้องการของประชาชน/ปัญหา/ที่มาในพื้นที่ เพื่อนำมาส่งเสริมบุคคลในชุมชนและยกระดับคุณค่าของคนและชุมชนเพื่อตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐาน ระดับชุมชน -> ระดับประเทศ
1206 : ป.ป.ท. Call Center
▪️ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ให้ความรู้ความเข้าใจ ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
▪️ส่งเสริมประชาชนใ้ห้ความรู้ ชี้เบาะแส
▪️ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มประชาชน/องค์กร ขึ้นมาเพื่อต่อต้านการทุจริต
▪️ส่งเสริมการแจ้งเบาะแสในนามกลุ่มประชาชนเพื่อการขับเคลื่อน
เวลา 13.00 – 17.30 น.
เป็นการอภิปรายจากวิทยากรที่มีความรู้ ใน 2 หัวข้อสุดท้าย
หัวข้อสาระสำคัญ ดังนี้
เราช่วยคุณได้ : เครือข่ายยุติธรรมอาสาสมัครยุติธรรม
▪️กองทุนยุติธรรม : ช่วยเหลือเงินให้กับประชาชนซึ่งทั้งที่เป็นโจทย์และจำเลยในด้านต่างๆ เช่น 1.การดำเนินคดีจัดหาทนายความ 2.เงินประกันตัว(การขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย) 3.ค่าธรรมเนียมด้านการดำเนินคดี(ค่าธรรมเนียมศาล/ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์หลักฐาน/ค่าใช้จ่ายจำเป็น พาหนะเดินทาง ที่พักคุ้มครองพยานให้ได้รับความปลอดภัย) 4.ช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 5.เป็นแหล่งเงินทุนให้ความรู้ทางกฎหมาย
▪️สชง. : มีการจัดตั้ง คลีนิคยุติธรรม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานในการดำเนินงานด้านการเงิน โดยรัฐเข้ามาดูแลด้วยการจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายจากเงินของรัฐเข้ามาช่วยเหยียวยา
▪️สภาเกษตรกร : สร้างความเชื่อมโยงระดับหมู่บ้าน ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
▪️กองทุนหมู่บ้าน : เพื่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ กองทุนหมู่บ้านได้ให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อในการประกอบอาชีพสามารถพึ่งพาตนเองได้
เปิดบ้านงานยุติธรรม
▪️กรมคุมประพฤติ/ยุติธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ : กาฬสินธุ์โมเดล การยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เกิดจากการไม่รู้กฎหมาย/ค่าใช้จ่ายสูง/รายได้ต่ำ/ปัญหายาเสพติด/หนี้สินในและนอกระบบ
เป้าหมายของกรมคุมประพฤติ ผู้กระทำผิดไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ 20% ศยช.ต้องทำมีความเชื่อมโยงกับกรมคุมประพฤติ คือ 1.ให้ความสำคัญกับผู้ต้องหาที่กลับเข้าชุมชนด้วยการพูดคุย สอบถาม และให้กำลังใจ 2. ให้ความร่วมมือด้านข้อมูลของผู้กระทำผิดในชุมชน
▪️กรมราชทัณฑ์ : ให้ความสำคัญหน้าที่ของ กรมฯ ว่าผู้กระทำผิดสามารถได้รับความสงเคราะห์และการแก้ไขพฤติกรรมมนุษย์
▪️สถานพินิจเด็กและเยาวชน : ควบคุมการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน เด็กที่กระทำความผิดที่อยู่ก่อนคำพิพากษาจะอยู่ในความดูแลของสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน แต่จากหลังคำพิพาษาเด็กที่กระทำผิดต้องเข้าไปรับการฝึกกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
▪️กรมบังคับคดี : เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับมอบภารกิจ เกี่ยวกับ กาฬสินธุ์โมเดล กรณีที่ยังไม่มีการฟ้องคดี DSI จะรับผิดชอบหนี้นอกระบบ แต่ถ้ามีการฟ้องคดีเกิดขึ้นแล้ว กรมบังคับคดี จะเป็นผู้ดูแลส่วนนี้ต่อไป โดยกรมบังคับคดีได้มีส่วนทำหน้าที่เป็นอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบ