การประชุมหารือเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา

Cover for Web 53

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 พันตำรวจโท ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผอ.สกธ. ให้เกียรติเป็นประธานและเข้าร่วมการประชุมหารือเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) ณ ห้องประชุมกิจการยุติธรรม 2 (JA2) ซึ่งมีรอง ผอ.สกธ. (นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก)  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองทะเบียนประวัติอาชญากร) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และกรมคุมประพฤติ เข้าร่วมการประชุม โดยมี ผอ.สวพ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ที่ประชุมได้หารือและร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. สถานะของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล)  ซึ่งคาดว่าจะประชุมในเดือนพฤษภาคม 2564 อย่างไรก็ดี คณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ ได้แจ้งขอความอนุเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม อาทิ สถิติการกระทำความผิดของเด็ก ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการกำหนดอายุขั้นต่ำในการรับโทษทางอาญาของต่างประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกระบวนการรองรับของหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามร่างกฎหมาย
  2. แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) โดยแบ่งประเด็นพิจารณาแนวทางการปฏิบัติงานตามกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ
  • กลุ่มเด็กที่กระทำความผิดขณะอายุไม่เกิน 12 ปี และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุมประพฤติ หรืออยู่ระหว่างดำเนินคดีในชั้นศาล อัยการ ตำรวจ 
  • กลุ่มเด็กที่กระทำความผิดขณะอายุไม่เกิน 12 ปี และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ภายหลังกฎหมายใหม่ออกใช้บังคับ กรณีเด็กกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ใช้มาตรการสำหรับเด็กหรือการคุ้มครองเด็กแทน 
  1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูล (เด็กเก่า และเด็กรับใหม่), การเตรียมพร้อมด้านต่างๆ , การคัดกรองหรือจำแนกเด็กที่ต้องเข้าสู่การดูแลในบ้านพักต่าง ๆ , ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับการให้การดูแลและสงเคราะห์เด็กซึ่งควรจะได้พิจารณาทั้งในมุมของเด็กที่กระทำผิดและมุมของผู้เสียหาย , การขับเคลื่อนหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน , ารพิจารณาไม่บันทึกหรือไม่เปิดเผยประวัติการกระทำความผิดของเด็ก

 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมการเพื่อชี้แจงร่างกฎหมายต่อวิปรัฐบาลและคณะกรรมาธิการในชั้นรัฐสภาต่อไป

121 Views