การจัดทำรายงานทางวิชาการและร่วมกันศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม (Group Project – GP)
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมนักวิจัยและเสริมสร้างนวัตกรรมด้านการวิจัยทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
แนวทางในการจัดทำรายงาน
นักวิจัยในกระบวนการยุติธรรมไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการความคิด การพัฒนาต่อยอด ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง โดยได้รับการสร้างความพร้อม ทบทวนกระบวนทัศน์ เพิ่มพูนองค์ความรู้และประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ ทำให้สามารถมองเห็นและวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยคิดค้น วิเคราะห์หา แนวทางแก้ไขผ่านกระบวนการวิจัยที่มีระเบียบวิธีการค้นคว้า สำรวจ วิเคราะห์อย่างมีระเบียบขั้นตอนเพื่อให้ได้ความรู้หรือข้อค้นพบที่มีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือในการนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนากฎหมายและการปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรมสู่มาตรฐานสากล โดยเฉพาะให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวคิดและกรอบการวิจัยด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ทั้ง 6 มิติ คือ
- การวิจัยสำรวจความจำเป็นและความต้องการนวัตกรรมทางกฎหมายให้สอดคคล้องและเหมาะสมกับพลวัตทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
- การวิจัยประสิทธิภาพของขั้นตอนและการบังคับใช้กฎหมาย โดยศึกษาด้านการนำกฎหมายมาใช้ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย
- การวิจัยพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้าง ระบบงาน และบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม
- การวิจัยนวัตกรรมและนิติวิทยาศาสตร์
- การวิจัยพัฒนาและส่งเสริมมาตรการกระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการมีส่วนร่วม ในการงานยุติธรรม โดยศึกษาการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งในกระบวนการก่อนพิจารณาคดี ระหว่างการพิจารณาคดี และหลังการพิจารณาคดี
- การวิจัยสร้างมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สู่การรองรับการเป็นสมาชิกสมาคมประชาคมอาเซียน
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน
- การจัดทํารายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์การบังคับใช้กฎหมาย