การฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม รุ่นที่ 9 : ผู้บริหารระดับสูงในการวิจัยด้านความยุติธรรม (ศวธ 9+)

Picforweb8

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 พันตำรวจโท มนตรี บุณยโยธิน รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นวิทยากรการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม รุ่นที่ 9 : ผู้บริหารระดับสูงในการวิจัยด้านความยุติธรรม (ศวธ 9+) พร้อมด้วยนางขัตติยา รัตนดิลก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)

การบรรยายหัวข้อ “สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย” โดยนางสาวชลธิช ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดกล่าวสรุปว่า ผลงานสำคัญของ TIJ คือการส่งเสริมให้เกิด “ข้อกำหนดกรุงเทพ” หรือข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง ซึ่งนำไปสู่การดำเนินโครงการ “เรือนจำต้นแบบ” (Model Prison Project) และส่งเสริมให้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการกระทำผิดของผู้หญิงมากขึ้น เช่น งานวิจัยเรื่องเส้นทางการกระทำผิดของผู้หญิงในคดียาเสพติด การพัฒนาหลักสูตรของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และงานวิจัยในเรื่องการเพิ่มขึ้นของผู้ต้องขังหญิงที่มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงกว่าผู้ต้องขังชาย เป็นต้น

เสวนาหัวข้อ “งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมตามแนวนโยบายรัฐบาล” โดยนางสาวอรุณศรี วิชชาวุธ ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และนางสาวสุพจนี ชุติดำรง ผู้อำนวยการส่วนประสานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวโดยสรุปว่า DSI ได้นำงานวิจัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยอาชญากรรมมาใช้ประโยชน์ในการทำโปรแกรม Chatbot เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องเรียนร้องทุกข์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วน ป.ป.ส. ได้มีการศึกษาพัฒนาระบบ Blockchain เพื่อนำมาใช้ในการแจ้งเบาะแสยาเสพติด และลดการใช้สารเสพติดในชุมชน

การบรรยายหัวข้อ “สำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะศูนย์กลางการวิจัยด้านความยุติธรรม (Justice Research Hub)” โดยพันตำรวจโท มนตรี บุณยโยธิน รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม กล่าวโดยสรุปว่า ประเด็นท้าทายในการขับเคลื่อนให้เกิด R&D อย่างมีประมีสิทธิภาพและประสิทธิผล มีดังนี้ 1. งบประมาณและวิธีการใช้งบ 2. การตรวจสอบ Output, Outcome การของบประมาณต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พิจารณา 3. สถาบันหลักในประเทศไทย ฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ โดยให้ข้อเสนอในการจัดสรรงบประมาณงานวิจัยว่าข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณจะได้รับการผลักดันได้ นักวิจัยต้องเป็นกระบอกเสียง เพื่อทำให้เกิดการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรม และมีงานวิจัยที่ขับเคลื่อนสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การศึกษาดูงาน “โครงการโรงเรียนตั้งต้นดี” โดยนายเพิ่มพร มณีสินธุ์ ผู้จัดการโครงการโรงเรียนตั้งต้นดี เริ่มจากการพาเดินชมนิทรรศการชีวิตผู้ต้องขัง เป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง การถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ การถูกกดทับความรู้สึก การถูกกดทับเพศวิถี ความหดหู่ภายในจิตใจ และวิธีการแสดงความเป็นตัวตนของตนเองผ่านสิ่งของที่มีอยู่ในเรือนจำ และสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความก้าวพลาด เพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าพวกเขาจะไม่กล้าวพลาดอีกครั้ง และลำดับถัดไปเป็นการพาชมครัวตั้งต้นดี สปา และซาลอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทำให้ ผู้พ้นโทษได้มีโอกาสมีงานทำ มีรายได้ และมีคุณค่าอีกครั้ง

การบรรยายหัวข้อ “มาตรฐานระหว่างประเทศและคู่มือที่เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลการวิจัย” และ “Data Management For Justice Policy Maker” โดยนางสาวสุดารักษ์ สุวรรณานนท์ ผู้ชำนาญการด้านพัฒนาเนื้อหาและการสื่อสารสาธารณะ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสรุปว่า มาตรฐาน ICCS เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่กำหนดรหัสเพื่อจัดหมวดหมู่อาชญากรรม ทำให้บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษากฎหมายสามารถเข้าใจได้ง่าย และเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บสถิติทางอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ICCS จัดเป็น 11 หมวดหมู่ วิธีการกำหนดรหัสหมวดหมู่ เช่น หมวด 03 การประทุษร้ายทางเพศ จะแบ่งรหัสออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ รหัส 0301 การกระทำความรุนแรงทางเพศ และรหัส 0302 การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และมีกิจกรรม Worksheet โดยวิทยากรได้ให้รายละเอียดข่าวอาชญากรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเขียน Output ว่าผู้กระทำเป็นใคร ผู้เสียหายเป็นใคร ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างไร วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ มูลค่าความเสียหาย อาวุธที่ใช้ก่อเหตุ และเป็นอาชญากรรมประเภทใด เมื่อผู้เข้าร่วมอบรมเขียน Output ได้ จะสามารถแทนค่ารหัส ICCS ได้อย่างถูกต้อง

94 Views