วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น. พันตำรวจโท พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม เข้าร่วมการประชุมหารือระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารสำนักงานกิจการยุติธรรม เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำหนดแนวทางการออกแบบและจัดทำเครื่องมือประเมินผลความสำเร็จของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) ภายใต้โครงการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) โดยมี ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรี ดร.โสรัตน์ กลับวิลา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการ และผู้นำเสนอร่วมกับทีมวิจัย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกิจการยุติธรรม 2 (JA2)
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือประเมินความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดและวิเคราะห์สถานะการดำเนินงานตามแผนการติดตามและประเมินผล ภายใต้แผนแม่บทฯ เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ซึ่งคณะที่ปรึกษาได้นำเสนอรายละเอียดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 กรอบแนวคิด (Conceptual Framework) การดำเนินโครงการติดตามและประเมินผแผนแม่บทฯ โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือประเมินความสำเร็จ
ขั้นที่ 2 จัดทำแผนการติดตามประเมินผลภายใต้แผนแม่บทฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดและสถานะการดำเนินงานตามแผนการติดตามประเมินผลภายใต้แผนแม่บทฯ (พ.ศ. 2566 – 2567)
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์สถานการณ์ดำเนินงานตามตัวชี้วัด ภายใต้แผนแม่บทฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ขั้นที่ 5 วิเคราะห์และประเมินผลการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2567)
ขั้นที่ 6 จัดทำข้อเสนอในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ขั้นที่ 7 ผลิตและเผยแพร่รายงานการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 4 ( พ.ศ. 2566 – 2567)
ส่วนที่ 2 แนวคิดการพัฒนาเครื่องมือการประเมินความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ โดยศึกษาและพัฒนาจากระบบติดตามประเมินผลฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ระบบ eMENSCR ของประเทศไทย ระบบ Performance. gov ของสหรัฐอเมริกา ระบบ Government Performance System (PMS) และระบบ Whole of Government Performance Management ของสิงค์โปร์
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันแสดงความเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกรอบแนวคิด และการจัดทำเครื่องมือประเมินผลความสำเร็จของแผนแม่บทฯ ให้มีความเหมาะสม เป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การบริหารงานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพต่อไป