1.คณะอนุกรรมการประสานและพัฒนาระบบงานยุติธรรม
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- สนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะการจัดทำ ขับเคลื่อน และติดตาม ประเมินผลแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- สนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการยุติธรรมตามแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มติคณะรัฐมนตรี คำสั่งของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- ประสาน ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามข้อ 2
- สนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะการจัดทำ ขับเคลื่อน และติดตามประเมินผลงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการปฏิรูปกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม
- สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- รายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
2.คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายและการบังคับใช้
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนคณบดีคณะนิติศาสตร์ของภาครัฐซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการฯ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนคณบดีคณะนิติศาสตร์ของภาคเอกชนซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการฯ
- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบไม่เกิน 2 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มติหรือคำสั่งคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- วิเคราะห์และประเมินผลกระทบของการออกกฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรม
- พัฒนาและส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรม
- กำหนดแนวทาง รูปแบบ และวิธีการ เพื่อสร้างการรับรู้/การเผยแพร่กฎหมายให้กับประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการ อย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- รายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
3.คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยในกระบวนการยุติธรรม
- ศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล (ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (อนุกรรมการ)
- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบไม่เกิน 2 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- จัดทำประเด็นการวิจัยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มติ/ข้อสั่งการของคณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- พัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม
- จัดหาทุนสนับสนุนการวิจัยและกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาโครงการวิจัย
- พัฒนาคุณภาพงานวิจัยและขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติ
- บูรณาการเครือข่ายและความร่วมมือในการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- รายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
4.คณะอนุกรรมการพัฒนาความรู้และส่งเสริมคุณธรรมแก่บุคลากรในงานยุติธรรม
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- จัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มติ/ข้อสั่งการของ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- ผลักดันการบรรจุองค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรมในการเรียนการสอนของสถาบัน อุดมศึกษา การสร้างจิตสำนึกรักความยุติธรรม และสร้างค่านิยมร่วมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม
- บูรณาแผนงาน งบประมาณและการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงานให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการ อย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- รายงานผลการดำเนินงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
5.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม
- นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล (ประธานอนุกรรมการ)
- รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมการปกครอง (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประธานอนุกรรมการให้ความเห็นชอบ จำนวน 2 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (CIO) (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย จำนวนไม่เกิน 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรมเพื่อสนับสนุน การดำเนินงานของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วและโปร่งใส รวมทั้งมีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- ประสานความร่วมมือ บูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณประจำปี เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม
- ประสานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม พร้อมรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติทราบเป็นประจำทุกปี
- ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การจัดทำระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูล และการพัฒนาระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
6.คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานในการเตรียมความพร้อมและรองรับการจัดตั้งศาลชั้นต้นและแผนกคดีในศาลยุติธรรม
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ประธานอนุกรรมการ)
- รองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมคุมประพฤติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมบังคับคดี (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน (ผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สถานการณ์และประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมสถานที่ อัตรากำลัง งบประมาณและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมและรองรับการจัดตั้งศาลชั้นต้นและแผนกคดีในศาลยุติธรรม
- กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงาน ตลอดจนแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการจัดตั้งศาลชั้นต้นและแผนกคดีในศาลยุติธรรม ในเชิงบูรณาการ
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
7.คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและประสานงานกระบวนการยุติธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ประธานอนุกรรมการ)
- รองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (รองประธานอนุกรรมการ)
- อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 9 (อนุกรรมการ)
- อธิบดีอัยการ ภาค 9 (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการ)
- รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการ)
- รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้อำนวยการสำนักบริการงานยุติธรรม ศอ.บต. (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
- เจ้าหน้าที่สำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยสถานการณ์ ประเด็นปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการการบริหารงานยุติธรรม ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน
- ประสานงานระหว่างหน่วยงาน องค์กรหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางและแก้ไขข้อขัดข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- เสนอแนะ สนับสนุนหรือจัดทำแผนงาน โครงการที่สำคัญและงบประมาณดำเนินงานแก่หน่วยงานในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในมิติงานกระบวนการยุติธรรม โดยคำนึงถึงหลักนิติธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแนวทางที่กำหนดไว้ รวมทั้งเสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารงานยุติธรรมต่อคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรมและผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแนวทางที่กำหนด รวมทั้งจัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรมแก่บุคลากรของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
8.คณะอนุกรรมการปฏิรูปตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
- ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือรองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย(ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานสถิติแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- นายวิพล กิติทัศนาสรชัย อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- นายทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (อนุกรรมการ)
- นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (อนุกรรมการ)
- ศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
- ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ จำนวน 2 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เหมาะสมกับกรอบตัวชี้วัดกระบวนการยุติธรรมไทย
- กำหนดแนวทางในการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามตัวชี้วัด
- เสนอแนะโครงการ/กิจกรรมเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ตัวชี้วัด
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
9.คณะอนุกรรมการด้านการปฏิรูปการพัฒนามาตรการต่อผู้กระทำผิดอาญาแทนการควบคุมตัวโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรสหวิชาชีพและชุมชน
- ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือรองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงแรงงาน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมคุมประพฤติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมการปกครอง (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกรมพระธรรมนูญ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนหน่วยงานสหวิชาชีพและชุมชน ซึ่งประธานอนุกรรมการเห็นชอบ จำนวน 3 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประธานอนุกรรมการเห็นชอบ จำนวน 3 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- ทบทวนระบบการใช้มาตรการต่อผู้กระทำผิดอาญาแทนการควบคุมตัว (Non-custodial Measures) ด้านกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย พร้อมเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโดยให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นตํ่าระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อผู้กระทำผิดแทนการควบคุมตัว
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
10.คณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาและขับเคลื่อนการดำเนินงานการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท
- อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (ประธานอนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงกลาโหม (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสภาทนายความ (อนุกรรมการ)
- ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประธานอนุกรรมการเห็นชอบ จำนวน 2 คน (อนุกรรมการ)
- ผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรม (อนุกรรมการ)
- รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและเลขานุการ)
- ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
- ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับมอบหมาย (อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)
อำนาจหน้าที่
- ประสานและบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานของรัฐและภาคประชาชนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาตามร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 – 2565)
- พิจารณาจัดทำหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้มีมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยตามกฎหมายว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
- ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริม และพัฒนาการดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อคณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นสมควร
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมอบหมาย
3,327 Views