“พระองค์ภาฯ” เจ้าหญิงนักกฎหมาย ทรงมีพระดำรัส “ส่งเสริมหลักนิติธรรม พัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย”

[vc_row][vc_column][vc_column_text]

เมื่อวานนี้ 22 ก.พ. 60 เวลา 10.00 น. นางสาวนันทรัศมิ์ เทพดลไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมและคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เข้าร่วมการประชุมเวทีสาธารณะว่าด้วยหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน “หลักนิติธรรมกับการพัฒนาระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาชุมชน” ณ องค์การสหประชาชาติ (UN) ถนนราชดำเนินนอก

โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญาสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประทานพระดำรัสปาฐกถาพิเศษเรื่องการส่งเสริมหลักนิติธรรมและพัฒนากระบวนการยุติธรรมในครั้งนี้ด้วย

การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และส่งเสริมความเข้าใจในหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน ผ่านการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

ดร.ศุภชัย พาณิชภักดิ์ ได้บรรยายเกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับมุมมองการพัฒนาระหว่างประเทศ ผ่านประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำงานด้านนี้มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี โดยท่านได้บรรยายว่า โลกของเราในขณะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างนิติธรรมและเศรษฐศาสตร์มีความหมายมากขึ้น แต่ปัจจุบันความมีเหตุมีผล (Reasonableness) ลดน้อยลง
ซึ่งจากการทำงานที่ WTO ทำให้ได้เรียนรู้ว่ากฎของ WTO คือ กฎที่มี Reasonableness มากที่สุด โดยมีกฎหลักสามข้อ คือ
1. การให้ประโยชน์ทางการค้าซึ่งกันและกัน (benefit sharing)
2. Most Favored Nation Treatment คือการให้สิทธิแก่ประเทศหนึ่ง ต้องให้สิทธิเช่นนั้นแก่ประเทศอื่นด้วย
3. National treatment คือ การให้สิทธิต่อคนต่างชาติเท่าเทียมกับคนในชาติ ซึ่งกฎของ WTO นี้ ทำให้มองเห็นความเป็นประชาธิปไตยในทางการค้า นอกจากนี้ ท่านยังให้ความเห็นเกี่ยวกับGoal16ไว้อย่างน่าสนใจว่า “Goal16 ไม่ใช่แค่ Golden Tread แต่เป็น Underpinning Factors ในการพัฒนาที่ยั่งยืนต่างหาก”

ศาสตรจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ ได้บรรยายเกี่ยวกับความหลากหลายของคำนิยายของหลักนิติธรรมว่า มีแบบ Thin (บางเบา) ซึ่งหมายถึง ศาลหรือกฎหมายบางอย่างที่มีอยู่ ในขณะที่แบบ Thick (หนา) ซึ่งหมายถึง ศาล ระบบกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน และได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “Rule of Law , Not Rule by Law”

ดร. รอยล จิตรดอน ได้บรรยายเกี่ยวกับหลักนิติธรรมกับการพัฒนาชุมชนไทย โดยยกตัวอย่างกรณีการจัดการทรัพยากรน้ำ ในมิติของการอำนวยความยุติธรรม มิติการให้ความยุติธรรมและมิติการคืนความยุติธรรม และได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “กฎหมายจะสร้างความยุติธรรมได้ ต้องไม่ซับซ้อน”

นอกจากนี้ ท่านกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ได้กล่าวสรุปในตอนสุดท้ายของการเสวนาครั้งนี้ไว้ว่า “หลักนิติธรรมที่ดีไม่ได้อยู่ที่นักกฎหมาย ถ้าอยากได้ต้องร่วมกันสร้าง”

จากการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้กับการทำงานได้ในประเด็นดังต่อไปนี้
ในการวางนโยบายต้องมีการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงมากขึ้น ว่า มนุษย์ไม่ได้มีภาวะของ Reasonableness ดังนั้นหากจะมีการยึดโยงเรื่องหลักนิติศาสตร์กับหลักเศรษฐศาสตร์เข้าด้วยกัน ผนวกกับ public reason และ benefit sharingg ก็จะทำให้นโยบายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง17 เป้าหมาย โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 16 ควรต้องสร้างความตระหนักรู้ (building awareness) ถึงบทบาทความสำคัญและสารัตถะอื่นๆของหลักนิติธรรม ให้ทุกคน (for all) เนื่องจากหลักนิติธรรมไม่เพียงแต่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในตัวเอง แต่ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เป้าหมายการพัฒนาข้ออื่นๆ บรรลุผล ไม่ว่าจะเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมกันทางเพศ การเข้าถึงการศึกษาและบริการทางสาธารณสุข การลดปัญหาความยากจนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อคนรุ่นหลัง ฯลฯ

“No one left behind”[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

165 Views